
แน่นอนว่า นักลงทุนที่ตัดสินใจลงสนาม DW หรือใบสำคัญแสดงสิทธิอนุพันธ์ย่อมรู้กันดีอยู่แล้วว่าเรื่องของจังหวะเวลาในการตัดสินใจซื้อขายเป็นเรื่องที่สำคัญมาก ๆ เพราะนอกจากจะต้องคำนึงถึงราคาของดัชนีอ้างอิงแล้ว ยังมีเรื่องของต้นทุนค่า Time Decay และสถานะ (Moneyness) ของ DW แต่ละตัวเป็นปัจจัยที่ส่งผลต่อกำไรและขาดทุนอีกด้วย บทความจาก J.P. Morgan ในวันนี้จะพาคุณไปทำความรู้จักกับสถานะต่าง ๆ ที่มีผลต่อวิธีการเลือก DW พร้อมวิเคราะห์โอกาสและความเสี่ยงในการลงทุนที่เงื่อนไขต่าง ๆ กัน
คำว่า Moneyness คือสถานะของ DW ซึ่งเป็นความสัมพันธ์ระหว่างราคาหุ้นอ้างอิงกับราคาใช้สิทธิของ DW แต่ละตัว เป็นตัวที่บอกให้เรารู้ว่า DW ตัวนั้นขยับขึ้นลงตามราคาของหลักทรัพย์อ้างอิงหรือไม่ และเราควรเลือก DW ยังไง โดย Moneyness ของ DW ตัวหนึ่งสามารถเคลื่อนไหวเปลี่ยนแปลงได้ ไม่ได้จำกัดอยู่ที่สถานะใดสถานะหนึ่งตลอดไป ซึ่งทั้ง 3 สถานะดังกล่าวก็คือ In-the-Money (ITM), At-the-Money (ATM) และ Out-of-the-Money (OTM) นั่นเอง
หนึ่งในเทคนิคการเลือก DW เพื่อไม่ให้พลาดจังหวะที่เหมาะสมในการทำกำไร คือการพิจารณาที่สถานะทั้ง 3 ของ DW ดังที่เราได้กล่าวไปข้างต้น โดยแต่ละสถานะจะมีนิยามและความแตกต่างกันทางด้านมูลค่า ตลอดจนความเสี่ยงในการถือครอง ดังนี้
ตารางเปรียบเทียบความแตกต่างระหว่างสถานะต่างๆ ของ DW
|
In-the-Money (ITM) |
At-the-Money (ATM) |
Out-the-Money (OTM) |
Call DW |
S > K |
S = K |
S < K |
Put DW |
S < K |
S = K |
S > K |
ราคาของ DW |
ITM > ATM > OTM |
||
มูลค่าที่แท้จริง Intrinsic Value |
มี |
ไม่มี |
ไม่มี |
มูลค่าตามเวลา Time Value |
มี |
มี |
มี |
Sensitivity |
สูง |
สูง |
ต่ำ |
Effective Gearing |
ต่ำ |
สูง |
ต่ำ |
Time Decay |
ต่ำ |
สูง |
สูง |
S = ราคาหลักทรัพย์อ้างอิง
K = ราคาใช้สิทธิ
Investment Tips: + มูลค่าที่แท้จริง หรือ Intrinsic Value = (ราคาหลักทรัพย์อ้างอิง – ราคาใช้สิทธิ)/อัตราใช้สิทธิ + ดังนั้น ในกรณี ATM หรือ OTM ที่ราคาหลักทรัพย์อ้างอิงลบราคาใช้สิทธิเท่ากับ 0 หรือติดลบ DW ตัวนั้นจึงถือว่าไม่มี Intrinsic Value + มูลค่าตามเวลา หรือ Time Value หมายถึงต้นทุนค่าซื้อเวลาในขณะที่นักลงทุนรอให้ราคาของหลักทรัพย์อ้างอิงปรับตัวเพิ่มขึ้นหรือลดลง โดย DW ที่เหลืออายุมากก็จะมี Time Value สูง และ Time Value จะลดลงไปเรื่อย ๆ จนเท่ากับ 0 เมื่อ DW ครบกำหนดอายุ + ค่า Time Value = ราคา DW - Intrinsic Value |
เมื่อนักลงทุนทุกคนได้ทราบข้อมูลเกี่ยวกับ Moneyness หรือสถานะทั้ง 3 ของ DW กันไปแล้ว ในการตัดสินใจลงทุนจริง จะรู้ได้อย่างไรว่าวิธีการเลือก DW สถานะไหนจะช่วยเพิ่มความมั่นใจให้เราได้มากที่สุด?
Moneyness เป็นเพียงสถานะที่ช่วยบอกคุณสมบัติของ DW แต่ละตัว อย่างไรก็ตาม ไม่มีใครการันตีได้ว่าการเลือกถือครอง DW ที่สถานะไหนจึงจะทำกำไรได้มากกว่ากัน เพราะท้ายที่สุดแล้ว การลงทุนย่อมขึ้นกับความเสี่ยงที่นักลงทุนแต่ละคนรับมือไหว และสไตล์การเทรดที่แต่ละคนถนัด
นักลงทุนบางคนอาจมองว่า หากต้องการโอกาสทำกำไรสูง เทคนิคการเลือก DW คือเลือกตัวที่มีสถานะ OTM หรือ ATM ที่มีราคาต่ำกว่าสถานะ ITM แต่ก็ต้องยอมรับความเสี่ยงที่สูงกว่าให้ได้ด้วยเช่นเดียวกัน ไม่ว่าจะจากค่า Time Decay ที่เพิ่มขึ้น และค่า Gearing ที่สูงกว่า ซึ่งหมายความว่า หากถือนานเกินไป ก็จะมีต้นทุนค่าเสื่อมเวลามาก และเมื่อราคาหลักทรัพย์อ้างอิงเพิ่มหรือลดลงมาก ราคา DW ก็จะขยับขึ้นลงแรงตามไปด้วย นอกจากนี้ หากถือ DW ที่สถานะ ATM และ OTM ไปจนครบกำหนดอายุ มูลค่าของ DW จะลงเป็น 0 หมายความว่า คุณจะไม่ได้กำไรเลย
ส่วนนักลงทุนบางคนอาจเห็นต่างกัน โดยมองว่าวิธีการเลือก DW คือเลือกตัวที่สถานะ ITM มากกว่า เนื่องจากแม้จะมีราคาที่แพงและโอกาสทำกำไรต่ำ แต่ความเสี่ยงก็ต่ำกว่า และการขยับราคาขึ้นลงไม่เหวี่ยงแรงมากเท่าสถานะอื่นๆ เพราะมีค่า Gearing ต่ำกว่า นอกจากนี้ เนื่องจากสถานะ ITM มี Time Decay ไม่สูงมาก นักลงทุนจึงอาจถือจนครบกำหนดใช้สิทธิเพื่อรับเงินสดส่วนต่างได้ แต่แนวทางนี้ไม่เป็นที่นิยมกันมากนัก
อย่างไรก็ดี คำแนะนำเหล่านี้ก็เป็นเพียงการให้ความรู้และข้อเท็จจริงในการลงทุนเท่านั้น ไม่มีใครตอบได้ว่า เลือก DW แบบไหนดีกว่ากัน เพราะสิ่งสำคัญที่สุด คือ คุณต้องหมั่นศึกษาข้อมูลและอัปเดตข่าวสารต่าง ๆ อย่างสม่ำเสมอ เพื่อจะได้มี “วัตถุดิบ” เพียงพอสำหรับการตัดสินใจในแบบที่เหมาะกับแนวทางการลงทุนของตัวเองมากที่สุด และหากต้องการข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับวิธีการเลือก DW ตลอดจนสาระน่ารู้ทางการลงทุน สามารถติดตามต่อได้เลยที่เว็บไซต์และเริ่มต้นลงทุนด้วยเงินเพียงหลักร้อยได้เลยกับเครือบริษัท J.P. Morgan