
ดัชนี S&P500 ทำสถิติสูงสุดเป็นประวัติการณ์ที่ระดับ 4,461 จุด แต่ถึงอย่างไรก็ตามหุ้นกลุ่ม Growth ได้ outperform Value โดยได้รับแรงหนุนจากหุ้นกลุ่ม large cap tech +1% (AAPL +2.1%, MSFT +1%) ในขณะที่หุ้นกลุ่ม Software +1.1% และ Tesla +2% โดยกลุ่ม Value stock หลายตัวปรับตัวลดลงเช่น Airline -2.1%, Energy Equipment -1.2% และ Buiding Products -0.60% รวมไปถึง Semiconductor -0.90% ตัวเลขผู้ขอรับสวัสดิการการว่างงานครั้งแรกเป็นไปตามตลาดคาด
สรุปภาพดัชนีหุ้น | ณ เวลา 3.15 น. | เปลี่ยนแปลง (ุจุด) | เปลี่ยนแปลง (ุ%) |
S&P500 (SPX) | 4,460.83 | +13.13 | +0.30% |
Nasdaq-100 (NDX) | 15,088.98 | +61.230 | +0.41% |
Dow Jones Industrial Average (DJI) | 35,499.85 | +14.88 | +0.04% |
อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลอายุ 10 ปี ปรับตัวสูงขึ้น 0.03%แตะระดับ 1.36% ภายหลังตัวแรง PPI ภาคการผลิตและผู้ขอรับสวัสดิการการว่างงานแบบต่อเนื่องที่แข็งแกร็ง คลายความกังวลจากตัวเลข CPI และการประมูลพันธบัตรอายุ 10 ปีที่กดดันตัวอัตราผลอตอบแทนเมื่อวานนี้
ดัชนีราคาผู้ผลิต PPI
เมื่อคืนนี้ตัวเลข PPI รายงานออกมาแข็งแกร่งกว่าที่ตลาดคาด โดย headline PPI MoM July +1% vs est. 0.60% และ Core PPI MoM July +1% vs est 0.50% โดยหากพิจารณาตัวเลข CPI และ PPI ประกอบกันจะสามารถคำนวณค่า Core PCE inflation ได้ที่ 0.38% ในเดือน ก.ค. หรือค่า Core PCE รายปีอยู่ที่ 3.62% ซึ่งเป็นค่าที่สูงที่สุดนับตั้งแต่ปี 1991 แต่ถึงอย่างไรก็ตามอัตราเงินเฟ้อที่วัดจากตลาดพันธบัตร หรือ Breakeven inflation ยังไม่ได้ปรับตัวสูงขึ้นสอดคล้องกับตัวเลขเศรษฐกิจจริง
สถานการณ์ COVID-19 ในสหรัฐ
เริ่มมีสัญญาณการฟื้นตัว โดยพิจารณาจาก effective reproduction number (Rt) ที่ลดลงใน 40 รัฐจาก 50 รัฐ
ประเด็นที่น่าสนใจอื่น ๆ
1. อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลอายุ 10 ปี 1.36% (+0.03%) , อัตราดอกเบี้ย Real Yield -1.06% (+0.02%), Breakeven inflation +0.01% (Nominal Yield - Real Yield)
2. VIX index ลดลง 0.50 จุดแตะระดับ 15.59 จุด ปรับลดลงต่อเนื่องเข้าใกล้จุดตํ่าสุดหลัง Post pandemic ที่ระดับ 15.07 จุด
3. ราคาทองคำ $1,753/oz ไม่เปลี่ยนแปลง
4. ราคานํ้ามันปรับตัวลดลง 0.4% แตะระดับ $71.15/bbl